หน้าหลัก พระพุทธเจ้า สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล สารนาถ : สถานที่แสดงปฐมเทศนา
Search:

“ ....ตถาคตมีวิชชาและ วิมุติเป็นผลานิสงส์อยู่
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว เพิ่มพูนแล้วย่อมยัง วิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์
สติปัฎฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้วยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้วยังมีสติปัฎฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
อินทรีย์สังวร อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์”

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

ปัจฉิมโอวาท:
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลาย ให้จำมั่นไว้ว่า สิ่งทั่งปวงมีความเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

หนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

หน้าแรก : หมวดพระพุทธเจ้า
ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ | พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ | สารนาถ สถานที่แสดงปฐมเทศนา | กุสินารา สถานที่ปรินิพพาน
สารนาถ : สถานที่แสดงปฐมเทศนา

สารนาถ (อังกฤษ: Sarnath) จัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 ตั้งอยู่ 9 กิโลเมตรเศษ ทางเหนือของเมืองพาราณสี (เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู) ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล)

สารนาถ : สมัยพุทธกาล
สารนาถในสมัยพุทธกาล เรียกกันว่า ป่าอิสิปตนมฤคทาย แปลว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง และเป็นที่ชุมนุมฤๅษี เป็นสถานที่สงบ และเป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤษีและนักพรตต่าง ๆ ที่มาบำเพ็ญตบะและโยคะเพื่อเข้าถึงพรหมัน (ตามความเชื่อ ในคัมภีร์อุปนิษัทของพรามหณ์) ทำให้เหล่าปัจจวัคคีย์ ที่ปลีกตัวมาจากเจ้าชายสิทธัตถะ (ที่พระองค์หันมาเสวยอาหาร และถูกปัจจวัคคีย์ดูถูกว่าไม่มีทางตรัสรู้) มาบำเพ็ญตบะที่นี่

สถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เกิดในบริเวณที่ตั้งของ กลุ่มพุทธสถานสารนาถ ภายในอาณาบริเวณ ของป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 9 กิโลเมตรเศษ ทางเหนือของเมืองพาราณสี (เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) สารนาถ จัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถ เนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่พึ่ง แก่มหาชนทั้งหลาย (บ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค+นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง) ภายในอาณาบริเวณสารนาถมี ธรรมเมกขสถูป เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด เนื่องจากสันนิษฐานว่า บริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ประกาศพระสัจจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่

สารนาถ : หลังพุทธปรินิพพาน
ประมาณ 300 กว่าปีต่อมาหลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กลุ่มสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมธรรมเทศนา และพระธรรมเทศนาอื่น ๆ แก่เบญจวัคคีย์ และหมู่คันธกุฎีของพระพุทธเจ้า ในบริเวณป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้รับการบูรณะ และก่อสร้างศาสนสถานเพิ่มเติมครั้งใหญ่ เพื่อถวายเป็นอนุสรณียสถานแก่พระพุทธเจ้า และกลุ่มพุทธสถานเหล่านี้ ได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ในสมัยราชวงศ์คุปตะ (บันทึกของพระถังซำจั๋ง (Chinese traveler Hiuen-Tsang) ซึ่งได้จาริกมาราว พ.ศ. 1300 ได้บันทึกไว้ว่า "มีพระอยู่ประจำ 1,500 รูป มีพระสถูปสูงประมาณ 100 เมตร มีเสาศิลาจารึกรูปหัวสิงห์ และสิ่งอัศจรรย์มากมาย ฯลฯ") และได้ถูกทิ้งร้างไปเมื่อกษัตริย์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย จนท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ชาวศรีลังกา ได้มาบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้ง และได้รับการบูรณะจากรัฐบาลอินเดียเรื่อยมา ทำให้สารนาถกลายเป็นจุดหมายปลายทาง ในการแสวงบุญที่สำคัญแห่งหนึ่ง ของชาวพุทธทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก