หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระภัททกาปิลานีเถรี
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๑๐. พระภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ

พระภัททกาปิลานีเถรี เป็นธิดาของเศรษฐีชื่อโกสิยพราหมณ์ ในนครสาคลนคร มารดา ชื่อสุจิบดี เมื่อเจริญวัยขึ้นมาได้ทำอาวาหมงคล เป็นภรรยาของปิปผลิมานพ ตระกูลสัสสปะ เรียกชื่อตามตระกูลว่า “กัสสปะ” นับว่าเป็นสามีภรรยาที่แปลก เพราะทั้งคู่ไม่ยินดีในการถูกเนื้อ ต้องตัวกัน แม้จะนอนบนเตียงเดียวกัน แต่ก็ขึ้นคนละข้าง และมีแจกันดอกไม้ กั้นตรงกลาง อยู่ ครองคู่กัน จนบิดามารดาของทั้งส่องฝ่ายถึงแก่กรรม ทรัพย์สมบัติทั้งหลายจึงตกอยู่ในปกครองดู แลรับผิดชอบของคนทั้งสอง

ไม่ทำบาปแต่ต้องคอยรับบาป
เนื่องด้วยตระกูลทั้งสองนั้น เป็นตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์มาก เมื่อรวมเป็นตระกูลเดียวกันก็ ยิ่งมากมายมหาศาล มีสัตว์เลี้ยง และคนงานจำนวนมาก ทั้งสองสามีภรรยา ต้องบริหารสั่งการทุก อย่าง

วันหนึ่ง ขณะที่กัสสปะผู้สามี ออกไปตรวจดูการทำไร่ไถนาอยู่นั้น เห็นนกกาจิกกินสัตว์ เหล็กสัตว์น้อยแล้ว รู้สึกสลดใจ ที่ตนเองจะต้องคอยรับบาปกรรม ที่คนอื่นทำ แม้นางภัททกาปิลานี ใช้ให้ทาสและกรรมกร นำเมล็ดถั่วเมล็ดงามาตากที่ลานหน้าบ้าน เห็นนกกามาจิกกินตัวหนอนก็ เกิดสลดใจเช่นกัน

ดังนั้น เมื่อสองสามีภรรยาอยู่กันพร้อมหน้า จึงปรึกษากันแล้วมีความเห็นตรงกันว่า ไม่ ควรจะมานั่งคอยรับบาปกรรม ที่คนอื่นกระทำเพื่อตนเลย จึงพร้อมใจกัน มอบทรัพย์สมบัติทั้ง หมดให้แก่หมู่ญาติ และทาสกรรมกร แบ่งกันไปดูแล ส่วนตนทั้งสองได้ปลงผม แล้วนุ่งห่ม ผ้ากาสาวพัสตร์ อธิษฐานเพศบรรพชิต บวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลก แล้วเดินทางออกจาก บ้านไปด้วยกัน พอถึงทางแยกสองแพร่ง กัสสปะได้ไปทางขวา และได้พบพระบรมศาสดาที่ใต้ ร่วมพหุปุตตนิโครธ แล้วกราบทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา

บวชในสำนักปริพาชก
ส่วนนางภัททกาปิลานี แยกไปทางซ้าย เดินทางไปพบสำนักของปริพาชก จึงบวชอยู่ใน สำนักนั้นถึง ๕ ปี เนื่องด้วย ขณะนั้นพระพุทธองค์ยังมิทรงอนุญาตให้สตรีบวช ในพระพุทธ ศาสนา ต่อมาเมื่อพระนางปชาบดีโคตรมี ได้บวชแล้ว นางจึงได้มาบวชในสำนักของนางภิกษุณี ได้ ศึกษาพระกรรมฐาน บำเพ็ญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยวิชชา ๓ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๓ อภิญญา ๖ เป็นผู้ชำนาญในบุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ญาณเป็นเครื่องระลึกชาติ

ดังนั้นพระบรมศาสดา ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมื่อ ทรงสถาปนา ภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระภัททกาปิลานีเถรี ใน ตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ

วิโมกข์ ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประการ
๑. สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตาคือความว่าง
๒. อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจังแล้วถอนนิมิตได้
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกข์แล้วถอนความปรารถนาได้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก