หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ไทย (หน้าที่ ๓)
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
อัตชีวประวัติพระอริยสงฆ์ และพระเกจิอาจารย์ในประเทศไทย
พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก) พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก)
๓๐ สิงหาคม ๒๔๔๑ - ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๗
วัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

คติธรรม คำสอน :
ชีวิตของเราทั้งหลายนั้นมันไหลไปตามกระแสแห่งความอยาก คือ ตัณหา มันจึงดิ้นรน วุ่นวาย เป็นทุกข์ทรมาน เพราะว่าเรา ไม่มีสติมากันกระแสแห่งตัณหา ... จำเป็นที่จะต้องปลูกสติ สร้างสติขึ้นให้แก่กล้า จึงจะสามารถปิดกั้นเสีย ซึ่งกระแสแห่งตัณหาได้

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
๒๐ สิงหาคม ๒๔๔๒ - ๔ มกราคม ๒๕๒๐
วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

คติธรรม คำสอน :
พุทธะ คือผู้รู้ ความรู้นี้ไม่ใช่มืด ไม่ใช่สว่าง ไม่ใช่แจ้ง ไม่ใช่หลง
ความที่มันหลงเราก็รู้อยู่ มืดเราก็รู้อยู่ สว่างเราก็รู้อยู่ สุขมันก็รู้ ทุกข์มันก็รู้ ยังงี้

หลวงปู่หลุยส์ จนฺทสาโร หลวงปู่หลุยส์ จนฺทสาโร
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๔ - ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
วัดถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

คติธรรม คำสอน :
กิเลสมีร้อยแปดประตู แต่พุทโธ มีประตูเดียว เพราะฉะนั้น ให้ฝึกหัดปฏิบัติให้คุ้นเคย วาระที่เราจะเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ดังนั้นจงเพียรฝึกจิตให้คุ้นไว้กับพุทโธ

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๔ - ๘ มกราคม ๒๕๓๘
วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

คติธรรม คำสอน :
บ่ ต้องเสียใจ ดีก็ช่าง ร้ายก็ช่าง (หมายถึงการปล่อยวาง)

หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่คำดี ปภาโส
๒๖ มีนาคม ๒๔๔๕ - ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๗
วัดถ้ำผาปู่นิมิตร ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย

คติธรรม คำสอน :
เรื่องบาปกรรมย่อมไม่ยกเว้นให้กับใครทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นพระเณร หรือเจ้านายชั้นไหนๆ ก็ตาม ถ้าทำบาปลงไปเป็นบาปทั้งนั้น ไม่มีการยกเว้นลำเอียง ... ความไม่ประมาท คือ เป็นผู้มีสติจดจ่ออยู่ที่ กาย และใจ ทุกอิริยาบถ .. ไม่มีการเผลอสติจากอิริยาบถทั้ง ๔ จึงจัดว่าเป็นผู้ไม่ประมาท

พระราชนิโรธรังสี (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) พระราชนิโรธรังสี (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
๒๖ เมษายน ๒๔๔๕ - ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๗
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

คติธรรม คำสอน :
ผู้ใดทำให้ใจถึงความเป็นกลางได้ ผู้นั่นจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
ผู้ที่จะพ้นจากทุกข์ได้ในโลกนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ยกทุกข์ขึ้นมาเป็นเหตุทั้งนั้น
แท้จริงความนึกคิดไม่ใช่ทุกข์ แต่การไปยึดความนึกคิดมาเป็นของตน จึงเป็นทุกข์

หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
๓ มิถุนายน ๒๔๔๕ - ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒
วัดป่านิโคธาราม จังหวัดอุดรธานี

คติธรรม คำสอน :
ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ เป็นของเย็น เป็นของบริสุทธิ์ บุคคลผู้มีปัญญาจะไม่ปฏิเสธ ธรรมของพระพุทธเจ้า เพราะธรรมถ้าอยู่ในจิตใจของผู้ใด ผู้นั้นย่อมมีความสุขความเจริญ

หลวงปู่ลี ธมฺมธโร หลวงปู่ลี ธมฺมธโร
๓๑ มกราคม ๒๔๔๙ - ๒๖ เมษายน ๒๕๐๔
วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

คติธรรม คำสอน :
สมาธิเปรียบเหมือนตะปู ปัญญาเปรียบเหมือนค้อนที่ตอกตะปู ถ้าตะปูเอียงไปค้อนก็ตีผิดๆ ถูกๆ ตะปูนั้นก็ไม่ทะลุกระดานนี้ฉันใด ใจเราจะบรรจุธรรมชั้นสูงทะลุโลกได้จะต้องมีสมาธิเป็นหลักก่อน แล้วจึงเกิดญาณปัญญา ญาณนี้จะได้แต่คนทำสมาธิเท่านั้น ส่วนปัญญาธรรมดาย่อมมีอยู่ทั่วไปแก่คนทั้งหลาย

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
๒๗ พฤษภาคม ๒๔๔๙ - ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖
วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คติธรรม คำสอน :
มนุษย์เราจะเป็นมนุษย์อยู่ได้ ก็เพราะกำลังประกอบอยู่ด้วย ธรรม มิฉะนั้นจะต้องสูญเสียความเป็นมนุษย์ หรือต้องตาย ในที่สุด โดยไม่ต้องสงสัย มนุษย์ที่ไม่ประกอบอยู่ด้วยธรรม ก็ต้องประกอบอยู่ด้วยอธรรม เป็นธรรมดา และจะต้องเป็นอมนุษย์ในร่างของมนุษย์ โลกนี้จะเป็นอย่างไร หากเป็นโลก ที่ประกอบอยู่ด้วยอมนุษย์ในร่างของมนุษย์ เต็มไปทั้งโลก

พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๒ - ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๕
วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

คติธรรม คำสอน :
การภาวนา เป็นเรื่องของการบำเพ็ญ เพื่อความสุข ไม่ใช่เพื่อความทุกข์ แม้จะมีความยากลำบากบ้างก็อย่าท้อถอย ให้เห็นเป็นธรรมดาของการจะทำสิ่งมีค่าให้เกิดขึ้น

ย้อนกลับ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | หน้าต่อไป

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก