หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระเจ้ามหานามศากยะ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๕. พระเจ้ามหานามศากยะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายทานมีรสอันประณีต

พระเจ้ามหานามะ เป็นราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระ เจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดา มีพระอนุชาหนึ่งพระองค์ คือ เจ้าชายอนุรุทธะ และมีพระกนิษฐภคินี หนึ่งพระองค์ คือ พระนางโรหิณี

ได้ครองกรุงกบิลพัสดุ์
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ ได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ แล้ว เสด็จมาโปรด ประทานสงเคราะห์พระประยูรญาติ ให้ดำรงอยู่ในสุขสมบัติ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็นของ ทิพย์ และสุขเกษมศานต์อันเป็นบรมสุข คือพระนิพพาน ตามอำนาจวาสนาบารมี ของแต่ละพระ องค์ เจ้าชายมหานามะก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ด้วยการเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในครั้งแรกเท่า นั้น นอกจากนี้ยังมีศากยกุมาร อีกเป็นจำนวนมาก ออกบรรพชาติดตามแวดล้อม พระบรมศาสดา แม้แต่พระอนุชาของพระเจ้ามหานามะ คือ เจ้าชายอนุรุทธะ ก็เสด็จออกบวชด้วยเช่นกัน

เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ได้บรรลุพระอรหัตผล และดับขันธปรินิพพานแล้ว ราชสมบัติก็ขาดรัชทายาทสืบสันติวงศ์ หมู่อำมาตย์ราชปุโรหิตทั้งหลาย จึงได้ตกลงอัญเชิญเจ้า ชายมหานามะ ผู้เป็นพระปนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะ เข้าทำพิธีราชาภิเษกขึ้น ครอบครอง ราชย์สมบัติ ในพระนครกบิลพัสดุ์สืบต่อไป

ถวายทานมีรสประณีต
ต่อมาสมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จจำพรรษา ณ เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยหมู่ภิกษุ สงฆ์ ตามคำอาราธนาของเวรัญชพราหมณ์ ภิกษุสงฆ์ได้รับความลำบาก ด้วยการเที่ยวภิกขาจาร เพราะขาดทายกทายิกา ที่จะถวายอาหารบิณฑบาต ตลอดทั้งพรรษา

ครั้นออกพรรษาแล้ว พระพุทธองค์ทรงพาภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้า ประทับ ณ นิโครธาราม พระเจ้ามหานามะ ทรงทราบจึงเสด็จไปเฝ้า กราบถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่อันสมควร กราบว่าพระพุทธองค์ และภิกษุสงฆ์ได้รับความลำบากด้วย ภิกขาจารในพรรษาที่ผ่านมา จึงกราบทูลขอพระวโรกาส ถวายภัตตาหารอันมีรสประณีต แด่ พระพุทธองค์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นระยะเวลา ๔ เดือน

ครั้นทราบว่า พระพุทธองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพแล้ว ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น ก็ได้บำรุงภิกษุ สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยโภชนาหารอันประณีต และของมีรสอร่อย ๔ ชนิด ทุก ๆ วัน ครั้นครบกำหนด ๔ เดือนแล้ว ได้กราบทูลขอรับปฏิญญา ต่อไปอีก ๔ เดือน รวมเป็น ๘ เดือน และก็ขอรับปฏิญญาต่ออีก ๔ เดือน รวมทั้งสิ้นเป็น ๑๒ เดือน

เมื่อครบกำหนดวาระหนึ่งปีแล้ว พระพุทธองค์ไม่ทรงรับอาราธนาเกินไปกว่านั้น ส่วน พระเจ้ามหานามะ ก็ทรงปลาบปลื้มปีติยินดี กับสักการทานที่พระองค์บำเพ็ญถวาย ตลอดระยะ เวลาหนึ่งปีนั้น เกียรติคุณของพระเจ้ามหานามะ ก็ฟุ้งขจรไปทั่วทั้งชมพูทวีป

ต่อมา พระพุทธองค์ประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ได้สถาปนาพระเจ้ามหานามะ ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่ายผู้ถวายทานมีรสอันประณีต

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก