หน้าหลัก ตรัสรู้อริยสัจสี่ นิโรธอริยสัจ ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร : กระบวนการดับทุกข์ ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร
Search:

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจจ์ คือ ขันธ์ ๕ ที่คนเข้าไปยึดถือ เป็นทุกข์ ...
สมุทัยอริยสัจจ์ คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ... นิโรธอริยสัจจ์ คือ ความดับทุกข์ ...
มรรคอริยสัจจ์ คือ ทางไปสู่ความดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ”

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

ดูกรสุภัททะ ! อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด เป็นทางประเสริฐ สามารถให้บุคคล ผู้เดินไปตามทางนี้ ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่เป็นทางเดินไปสูอมตะ ดูกรสุภัททะ ! ถ้าภิกษุหรือใครก็ตามจะพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์

หนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

หน้าแรก : หมวดตรัสรู้อริยสัจสี่

อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, และมรรค

ชาร์ตแสดงความสัมพันธ์แห่งอริยสัจ ๔ โดยจับคู่เป็น ๒ คู่

สมุทัยอริยสัจ เป็นเหตุ โดยมี ทุกข์อริยสัจ เป็นผล คู่หนึ่ง
มรรคอริยสัจ เป็นเหตุ โดยมี นิโรธอริยสัจ เป็นผล คู่หนึ่ง


 
ความทุกข์
   
   
ทุกข์อริยสัจ (ทุกข์)
ความทุกข์
สมุทัยอริยสัจ (สมุทัย)
เหตุให้เกิดทุกข์ : ตัณหา
ความดับทุกข์
ดับตัณหาและมีสุขที่แท้จริง
ชีวิตคืออะไร : ขันธ์ ๕
รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ
มีตัว มีตน
 
ชีวิตเป็นอย่างไร:ไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
 
ความทุกข์ :
     - ทุกข์กาย
     - ทุกข์ใจ
 
ประเภทและอาการแห่งทุกข์ ตามหลักทั่วไป
ทุกข์สรุปในปัญจุปาทานขันธ์
หลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับทุกข์
ชีวิตเป็นไปอย่างไร
กระบวนการเกิด "ทุกข์"
ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร
 
 ตัณหา :
     - กามตัณหา
       (ความอยากมี)
     - ภวตัณหา
       (ความอยากเป็น)
     - วิภวตัณหา
       (ความอยากไม่ให้มี
       อยากไม่ให้เป็น)
 
 อุปาทาน :
     - กามุปาทาน
       (ยึดมั่นในความอยาก)
     - ทิฏฐุปาทาน
       (ยึดมั่นในทฤษฏี)
     - สีลัพพตุปาทาน
       (ยึดมั่นศีลและพรต)
     - อัตตวาทุปาทาน
       (ยึดมั่นตนเป็นหลัก)
อุปาทานขันธ์ ๕
 
ลักษณะแห่งตัณหา
ที่เกิดและการเกิดแห่งตัณหา
อาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์
ทิฏฐิเกี่ยวกับตัณหา
กิเลสทั้งหลายในฐานะสมุทัย
กระบวนการดับ "ทุกข์"
ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร
 
 
 
     - ดับทุกข์ทางกาย
     - ดับทุกข์ทางใจ
 
ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก
 
ความสุขที่เหนือกว่า
ระดับชาวโลก
 
 

 

 

 
ความดับแห่งตัณหา
ธรรมเป็นที่ดับแห่งตัณหา
ผู้ดับตัณหา
อาการดับแห่งตัณหา
ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร
กระบวนการดับ "ทุกข์" ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร
ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ (นิโรธ) เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท. ! ความดับสนิท เพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือ ของตัณหานั้นนั่นเทียว ความละไปของตัณหานั้น ความสลัดกลับคืนของตัณหานั้น ความหลุดออกไป ของตัณหานั้น และความไม่มีที่อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้น อันใดอันนี้ เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์

อริยสัจจากพระโอษฐ์ : พุทธทาสภิกขุ

อริยสัจจากพระโอษฐ์ :
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

ภาค ๓ : ว่าด้วยนิโรธอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

พุทธธรรม :
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

    ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท "ทุกขนิโรธ"
    กระบวนการดับทุกข์ : ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร

ธรรมะบรรยาย
    คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร :
กระบวนการดับทุกข์ "ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร"
อวิชฺชาย ตฺเวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ
สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
วิญฺญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
ชาตินิโรธา ชรามรณํ เพราะชาติดับ ชรามรณะ(จึงดับ)

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ ...... ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ .. ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้


อวิชชา : ความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้ความเป็นจริง ความไม่รู้ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค
สังขาร : ความคิดปรุงแต่ง เจตจำนงที่จิตสะสมไว้ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
วิญญาณ : ความรู้ต่อสิ่งที่ถูกรับรู้ จักขุวิญญาณ โสต-ฆาน-ชิวหา-กาย-มโนวิญญาณ
นามรูป : นามธรรมและรูปธรรม ชีวิตทั้งกายและใจ นาม (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ), รูป (มหาภูติ ๔)
สฬายตนะ : อายตนะ คือ ช่องทางรับรู้ ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ผัสสะ : การรับรู้ (อายตนะ + อารมณ์ + วิญญาณ) จักขุสัมผัส โสต-ฆาน-ชิวหา-กาย-มโนสัมผัส (สัมผัส ๖)
เวทนา : สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ เวทนาจากสัมผัส ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
ตัณหา : อยากได้ อยากเป็น อยากไม่เป็น ตัณหาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ (ตัณหา ๖)
อุปาทาน : ความยึดติดถือมั่น ยืดเข้ากับตัว กามุปาทาน-ทิฏฐุปาทาน-สีลัพพตุปาทาน-อัตตวาทุปาทาน
ภพ : ภาวะที่ชีวิตเป็นอยู่ สภาพชีวิต กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ชาติ : ความเกิด ความปรากฏแห่งขันธ์
ชรามรณะ : ความแก่-ความตาย ความเสื่อมของสังขาร และตาย

ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจก็ดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้



ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก