หน้าหลัก ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา วันพระ หรือวันธรรมสวนะ
Search:

"พิธีกรรมทางศาสนานั้น เปรียบเสมือนเปลือกของต้นไม้ ต้นไม้ที่ปราศจากเปลือกห่อหุ้ม ย่ิอมไม่สามารถยืนต้นอยู่ได้"


หน้าแรก : หมวดศาสนพิธี
วันพระ หรือวันธรรมสวนะ
วันสำคัญทางพุทธศาสนา เรียงตามลำดับดังนี้
๑. วันวิสาขบูชา : ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ๕. วันเข้าพรรษา
๒. วันอาสาฬหบูชา : ปฐมเทศนา-ประกาศศาสนา ๖. วันออกพรรษา
๓. วันมาฆบูชา : จาตุรงคสันนิบาต-โอวาทปาฏิโมกข์ ๗. วันพระ หรือวันธรรมสวนะ
๔. วันอัฏฐมีบูชา : ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ  
เนื้อหาหลักนำมาจาก : หอมรดกไทย และ wiki
วันพระ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันธรรมสวนะ คือ วันกำหนดประชุมฟังธรรม เป็นประเพณีนิยมของพุทธบริษัทที่ได้ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแล้วแต่ครั้งพุทธกาล โดยถือว่า การฟังธรรมตามกาลที่กำหนดเป็นประจำไว้ ย่อมก่อให้เกิดสติปัญญาและสิริมงคลแก่ผู้ฟัง อย่างน้อยได้รับธรรมสวนานิสงส์อยู่เสมอ

ประวัติความเป็นมา
ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่า นักบวชศาสนาอื่น มีวันประชุมสนทนา เกี่ยวกับหลักธรรม คำสั่ง สอนในศาสนาของเขา แต่ว่าศาสนาพุทธยังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาติให้ภิกษุสงฆ์ ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชน ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึง ถือเอาวันดังกล่าวเป็นวัน ธรรมสาวนะ ( ในไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย )

วันพระ หรือวันธรรมสวนะนี้ พระพุทธเจ้าทรงปัญญัติไว้ ๔ วันในเดือนหนึ่ง ๆ นับโดยจันทรคติ คือ
       ๑. วันขึ้น ๘ ค่ำ
       ๒. วันขึ้น ๑๕ ค่ำ
       ๓. วันแรม ๘ ค่ำ
       ๔. วันแรม ๑๕ ค่ำ (ถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด)

ทั้ง ๔ วันนี้ จึงถือกันเป็นวันกำหนดประชุมฟังธรรมโดยปกติ และนิยมเป็นวันรักษาปกติอุโบสถสำหรับฆราวาส ผู้ต้องการอบรมกุศลด้วย
 

      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธี เล่ม ๑ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมตรี - ศาสนพิธีสังเขป : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นตรี
      แบบประกอบนักธรรมโท - ศาสนพิธี เล่ม ๒ : หลักสูตรศึกษา นักธรรมชั้นโท


   โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
เข้าถึงธรรมด้วยอุโบสถศีล คลิกฟัง
ธรรมในวันอุโบสถ คลิกฟัง
รักษาศีลอุโบสถเพื่ออะไร คลิกฟัง
หลักการรักษาศีลอุโบสถ คลิกฟัง
   โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ญาติโยมก็รักษาอุโบสถ พระสงฆ์ก็ลงอุโบสถ เป็นมาเป็นไปและแตกต่างกันอย่างไร คลิกฟัง
ถ้ารู้คุณค่าของศีล ๘ ถูกต้องแล้ว จะรักษาอุโบสถแบบไหนๆ ก็เลือกได้อย่างสมเป็นพุทธชน คลิกฟัง
   โดย พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
วันพระ วันโยม คลิกฟัง
เทศน์วันพระ 2522 คลิกฟัง
วันอุโบสถศีล คลิกฟัง
   โดย พระโพธิธรรมาจารย์เถระ (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)
วันอาทิตย์คล้ายวันพระ คลิกฟัง
ธัมมัสสวนมัย ๑ คลิกฟัง
ธัมมัสสวนมัย ๒ คลิกฟัง
อุโบสถศีล คลิกฟัง
   โดย พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
ธรรมบรรยายวันอุโบสถ คลิกฟัง
วันอุโบสถ คลิกฟัง

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก