หน้าหลัก ธรรมะปฏิบัติ ธรรมะบรรยาย : การปฏิบัติธรรม
Search:
หน้าแรก : หมวดธรรมะปฏิบัติ

“อานนท์ ! พุทธบริษัททั้งสี่ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการะบูชาด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ อานนท์เอย ! ผู้ใดปฏิบัติตามธรรมปฏิบัติอันชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสม ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม”

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

"ดูก่อนอานนท์ ธรรมหนึ่งคือ..
อานาปานสติสมาธิ
ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์,
สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์,
โพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและ วิมุติให้บริบูรณ์"

“..ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
   สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว... ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมดีแล้ว... ย่อมละราคะได้
   วิปัสสนา ที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมละอวิชชาได้"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ ชื่อว่าปัญญาวิมุติ"

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

  หลักปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น : ไม่มีตัวกู ของกู ไม่ยึดมั่น ถือมั่น

      ธรรมปาฏิโมกข์ เล่ม ๑ โดย พระพุทธโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
      ธรรมปาฏิโมกข์ เล่ม ๒ โดย พระพุทธโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
      โมกขธรรมประยุกต์ โดย พระพุทธโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

   โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
อะไร ๆ มันรวมอยู่สิ่งที่เรียกว่าตัวกู คลิกฟัง
การเกิดขึ้นของอุปาทาน คลิกฟัง
ความเห็นแก่ตัว คลิกฟัง
ธรรมะสูงสุดคือความไม่เห็นแก่ตัว คลิกฟัง
การทำลายซึ่งตัวกู - ของกู คลิกฟัง
การดับลงของอุปาทาน คลิกฟัง
การคลายความกำหนัดยึดถือ คลิกฟัง
ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในฐานะเป็นหัวใจของพุทธศาสนา คลิกฟัง
เพราะความไม่ยึดมั่นถือมั่นย่อมหลุดพ้น คลิกฟัง
สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตาในฐานะเป็นหัวใจของพุทธศาสนา คลิกฟัง
ทุกข์และความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ คลิกฟัง
การทำงานคือการปฏิบัติธรรม การมีชีวิตด้วยจิตว่าง คลิกฟัง
ศิลปะแห่งการมีชีวิตด้วยจิตว่าง คลิกฟัง
ชีวิตว่าง คลิกฟัง
   โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
การปฏิบัติธรรม คลิกฟัง
วิธีปฏิบัติธรรม คลิกฟัง
สุญญตา ๗ วิธีฟังธรรม – ปฏิบัติธรรม คลิกฟัง
   โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติธรรม คลิกฟัง
เคล็ดลับของการปฏิบัติธรรม คลิกฟัง
การทำหน้าที่คือการปฏิบัติธรรม คลิกฟัง
ผลของการปฏิบัติธรรม คลิกฟัง
   โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
พาล-บัณฑิต-การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ คลิกฟัง
หากยังมีผู้สนใจปฏิบัติธรรม 7 กย 29 คลิกฟัง
ออกเที่ยวธุดงคกรรมฐานปฏิบัติธรรม คลิกฟัง
   โดย พระโพธิธรรมาจารย์เถระ (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)
การศึกษาและปฏิบัติธรรม คลิกฟัง
พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม คลิกฟัง
การปฏิบัติธรรม คือปฏิบัติกายกับใจ คลิกฟัง
   โดย พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
การปฏิบัติธรรมเพื่อความก้าวหน้า คลิกฟัง
เราปฏิบัติธรรมเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง คลิกฟัง
ผู้ปฏิบัติตนคือนักปฏิบัติธรรม คลิกฟัง
   โดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
การปฏิบัติธรรมเพื่อความเป็นพุทธ คลิกฟัง
   ฟังเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมอื่น ๆ
หมวด : สมถภาวนา
หมวด : วิปัสสนาภาวนา

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก