หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระกุมารกัสสปเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๓๘. พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร

พระกุมารกัสสปะ เป็นบุตรของธิดาเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ เดิมชื่อว่า “กัสสปะ” แต่ เพราะท่านได้รับการบำรุงเลี้ยงดูจากพระเจ้าเสนทิโกศล ดังนั้นประชาชน จึงเรียกท่านว่า “กุมารกัสสปะ” ประวัติชีวิตของท่าน มีดังต่อไปนี้:-

มารดาภิกษุณีตั้งท้อง
ขณะเมื่อมารดาของท่าน ยังเป็นสาวรุ่นอยู่นั้น มีศรัทธาปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุณีใน พระพุทธศาสนา แต่บิดามารดาไม่อนุญาต อยู่ต่อมาจนกระทั่งนางได้แต่งงาน มีสามีอยู่ครองเรือน ระยะหนึ่ง นางได้ปฏิบัติต่อสามีเป็นอย่างดี จนสามารถเกิคความพอใจแล้วได้อ้อนวอนขออนุญาต บวช สามีก็ไม่ขัดใจ อนุญาตให้นางบวชตามความปรารถนา นางจึงไปขอบวชในสำนักของนาง ภิกษุณี ผู้เป็นศิษย์ของพระเทวทัต

ครั้นบวชแล้ว ได้ไม่นานปรากฏว่าครรภ์ของนางโตขึ้น จึงเป็นที่รังเกียจสงสัยของเพื่อน นางภิกษุณีทั้งหลาย และได้นำเรื่องนี้ไปแจ้งแก่พระเทวทัต เพื่อให้ตัดสินความ พระเทวทัตได้ตัด สินให้เธอสระสมณเพศ สึกออกไปเสียจากสำนัก

นางได้ฟังคำตัดสิน เกิดความเสียใจเป็นอย่างมาก ได้พูดอ้อนวอนขอร้องให้โปรดอย่า ลง โทษเธอถึงขนาดนั้นเลย เพราะนางมิได้ประพฤติชั่ว ทำผิดพระธรรมวินัยเลย เมื่อคำอ้อนวอนของ นางไม่เป็นผล นางจึงกล่าวว่า:-
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดิฉันมิได้บวชอุทิศตนต่อพระเทวทัต แต่ดิฉันบวชอุทิศตนต่อ พระบรมศาสดา ดังนั้น ขอท่านทั้งหลายจงพาดิฉันไปสู่สำนักของพระบรมศาสดาด้วยเถิด”

พระอุบาลีตัดสินคดีภิกษุณีท้อง
นางภิกษุณีทั้งหลาย จึงพานางไปเข้าเฝ้า กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบโดยลำดับ ตั้ง แต่ต้น แม้พระผู้มีพระภาคจะทรงทราบอย่างแจ่มชัด ด้วยพระองค์เองแล้วว่า “นางตั้งครรภ์มา ตั้งแต่ก่อนบวช” แต่เพื่อให้เนื้อความนี้แจ่มชัด ขจัดความสงสัย ของชนทั้งหลายให้สิ้นไป จึงรับ สั่งให้พระอุบาลีเถระ ดำเนินการชำระอธิกรณ์เรื่องนี้ให้ชัดเจน

พระอุบาลีเถระ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มาร่วมกันพิสูจน์ โดยมีพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นประธาน มีนางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถปิณฑิกะเศรษฐี และตระกูลอื่น เป็นต้น นาง วิสาขา ให้ขึงผ้าม่านโดยรอบแล้ว เรียกนางภิกษุณีเข้าไป แล้วตรวจดูมือ เท้า สะดือ และลักษณะ ของครรภ์ แล้วนับวัน นับเดือน สอบประวัติย้อนหลัง โดยละเอียดแล้ว ก็ทราบชัดเจนว่า “นางตั้ง ครรภ์มาตั้งแต่ก่อนบวช” พระอุบาลีเถระ จึงได้ประกาศตัดสินอธิกรณ์ ในท่ามกลางพุทธบริษัท ทั้ง ๔ ว่า นางภิกษุณีรูปนี้ยังมีศีลบริสุทธิ์อยู่ แล้วกราบทูลเนื้อความ ให้พระบรมศาสดาทรงทราบ พระพุทธองค์ได้ตรัสอนุโมทนาสาธุการ แก่พระเถระว่า ชำระความได้ถูกต้องยุติธรรม

พระเจ้าปเสนทิโกศลขอบุตรนางภิกษุณีไปเลี้ยง
ครั้นเวลาล่วงเลยไป ครรภ์ของนางได้โตขึ้นเป็นลำดับ จนครบกำหนดได้คลอดบุตรออก มา นางได้เลี้ยงดูอยู่ในสำนักของนางภิกษุณีนั้น วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จผ่านมาได้ สดับเสียงทารกร้องในห้องของนางภิกษุณี จึงตรัสถามได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ทรงมีพระ เมตตา ขอรับทารกไปบำรุงเลี้ยง เป็นโอรสบุญธรรม นำไปชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง ประทานนามว่า “กัสสปะ” แต่เพราะพระองค์ทรงชุบเลี้ยง ประดูจราชกุมาร จึงเรียกกันว่า “กุมารกัสสปะ

เมื่อกุมารกัสสปะ เจริญเติบโตขึ้น ได้วิ่งเล่นกับราชกุมารอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน เมื่อขัดใจ กันขึ้นกุมารกัสสปะ ก็มักจะใช้มือตีเพื่อน ๆ เหล่านั้น แล้วถูก เพื่อน ๆ ติเตียนว่า “พวกเราถูกเด็ก ไม่มีพ่อแม่ตี”

กุมารกัสสปะ เกิดความสงสัย จึงกราบทูลถามพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งพระองค์ก็ได้ พยายามบ่ายเบี่ยง ปกปิดมาโดยตลอด แต่เมื่อถูกอ้อนวอน รบเร้าหนักขึ้น ก็ไม่สามารถจะปกปิด ได้ จึงตรัสบอกความจริง

กุมารกัสสปะ ได้ทราบความจริงแล้ว รู้สึกสลดใจในชะตาชีวิตของตน จึงกราบทูลขอ อนุญาตบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ได้ไปบวชเป็นสามเณรในสำนักพระบรม ศาสดา ศึกษาพระกรรมฐาน และพระธรรมวินัยจากพระบรมศาสดา และอาจารย์ทั้งหลาย จวบจน อายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว กราบทูลลาพระผู้มีพระภาค เพื่อไปทำความ เพียร บำเพ็ญสมณธรรมในป่า ได้บรรลุคุณพิเศษเบื้องต้นแล้ว จึงกลับมาศึกษาพระกรรมฐานใน ระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้นแล้วเข้าไปสู่ป่าอันธวัน บำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฎ์ต่อไป

ครั้งนั้น ได้มีพรหมชั้นสุทธาวาส ผู้ซึ่งในอดีตชาติ เคยเป็นสหายปฏิบัติสมณธรรมร่วมกัน กับท่านพระกุมารกัสสปะ ในครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี แล้วจุติ ไปเกิดเป็นพรหมในชั้นสุทธาวาสนั้น เห็นท่านพระกุมารกัสสปะบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก ก็ ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล จึงลงมาช่วยเหลือ ด้วยการแก้ปัญหา ๑๕ ข้อ แนะนำให้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาค ให้พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ให้ ท่านได้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ของพระพรหมนั้น ปัญหา ๑๕ ข้อนั้นคือ
๑. จอมปลวก ๒. กลางคืนเป็นควัน ๓. กลางวันเป็นไฟ ๔. พราหมณ์ ๕. สุเมธผู้เป็นศิษย์ ๖. จอบ ๗. เครื่องขุด ๘.ลูกสลัก ๙.อึ่งอ่าง ๑๐. ทาง ๒ แพร่ง ๑๑. กระบอกกรองน้ำ ๑๒. เต่า ๑๓ เขียง ๑๔. ชิ้นเนื้อ ๑๕. นาค

พระบรมศาสดาทรงสดับปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อแล้วตรัสแก้ว่า ดูก่อนภิกษุ…

คำว่า จอมปลวก นั้นหมายถึง อัตภาพร่างกายนี้ เพราะว่า จอมปลวกเกิดจากตัวปลวก นำ ดินมาผสมกับน้ำลายเหนียว ๆ แล้วก่อขึ้นเป็นจอมปลวก ฉันใด อัตภาพร่างกายนี้ ก็เกิดขึ้นเพราะ มีพ่อแม่เป็นแดนเกิด ฉันนั้น จอมปลวกมีรูพรุน มีตัวปลวกอยู่อาศัย ร่างกายก็มีรูพรุนคือ ทวารทั้ง ๙ และรูขุมขนทั่วตัว เป็นที่อยู่อาศัยของหมู่หนอนและเชื้อโรคต่าง ๆ จอมปลวกต้องแตกสลาย แม้ร่างกายก็ต้องเน่าเปื่อยเช่นกัน

คำว่า กลางคืนเป็นควัน นั้นหมายถึง วิตก คือการคิดนึก และวิจารณ์ คือการพิจารณา ใคร่ครวญถึงการงาน ที่ตนทำเมื่อตอนกลางวันว่า มีคุณมีโทษอย่างไร และใคร่ครวญถึงวันรุ่งขึ้นว่า จะทำอะไรต่อไป การคิดใคร่ครวญอย่างนี้ มีอาการดุจควันไฟ ที่คุกรุ่นอยู่

คำว่า กลางวันเป็นไฟ หมายถึง การทำงานตามที่คิดไว้ ตั้งแต่ตอนกลางคืน ต้องรีบเร่ง ร่าง กายเหน็ดเหนื่อย ท่านจึงเปรียบเหมือนไฟที่ลุกโพลง

คำว่า พราหมณ์ หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านเรียกว่าพราหมณ์ เพราะพราหมณ์ มีประเพณีลอยบาป ด้วยการลงอาบน้ำ ในแม่น้ำคงคา ชำระบาปคือ ความชั่วออกจากกาย ส่วนที่ เรียกพราหมณ์ คือ พระพุทธองค์นั้น เพราะพระองค์ทรงชำระบาปทั้ง ๗ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สี ลัพพัตตปรามาส ได้โดยไม่เหลือ

คำว่า สุเมธ หมายถึง พระภิกษุผู้ยังเป็นเสขะ ผู้มีปัญญากำลังศึกษาในไตรสิกขา
คำว่า จอบ หมายถึง ปัญญาเป็นเครื่องขุดความโง่ทิ้ง ขุดจนสามารถตักรากเหง้า ของความ โง่ออกได้หมด
คำว่า การขุด หมายถึงความเพียร คือ เพียรเจริญสติปัฏฐาน ๔ พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ให้เห็นว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน
คำว่า ลูกสลัก หมายถึง อวิชชา ความไม่รู้ เป็นเครื่องกั้นตัว วิชชา คือความรู้ไม่ให้เกิด ขึ้น อวิชชา จึงเปรียบดังลูกสลัก หรือกลอนประตูที่ไม่ยอมให้ประตูเปิด

คำว่า อึ่งอ่าง ได้แก่ ความโกรธ เพราะความโกรธมีลักษณะทำให้ใจพองขึ้นเหมือน อึ่งอ่าง
คำว่า ทาง ๒ แพร่ง ได้แก่ วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเล เหมือนทาง ๒ แพร่งที่คนไม่รู้ว่า จะเดินไปทางไหนดี
คำว่า กระบอกน้ำ หมายถึง นิวรณ์ ๕ ประการ มีกามฉันทะ เป็นต้น คนที่มีนิวรณ์ทั้ง ๕ อยู่ในใจ ไม่สามารถจะแสวงหากุศลธรรม ให้ติดตัวอยู่ได้ เหมือนกระบอกกรองน้ำ ที่ไม่สามารถ จะเก็บน้ำไว้ได้

คำว่า เต่า หมายถึง อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่ง เหมือนกับเต่าที่มี ๔ ขา มีหัว ๑ รวมเป็น ๕ ท่านสอนให้ตัดความรักใคร่พอใจในอุปาทานขันธ์ นั้นเสีย

ค่ำว่า เขียง ได้แก่ กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่รักใคร่พอใจ ดุจคนวางชิ้นเนื้อไว้บนเขียง แล้วเชือดชำแหละด้วยมีด ฉันใด กิเลสทั้งหลาย ฆ่าหมู่สัตว์แล้ววาง ไว้บนเขียง คือ กามคุณทั้ง ๕ แล้วเชือดชำแหละ ฉันนั้น พระพุทธองค์ทรงสอนให้ละกามคุณทั้ง ๕ นั้นเสีย

คำว่า ชิ้นเนื้อ ได้แก่นันทิราคะ ความรักใคร่ เพลิดเพลินอยู่ในกามคุณทั้งหลาย อันเป็น เหตุให้เกิดความทุกข์ ในภายหลัง
คำว่า นาค หมายถึงภิกษุผู้สิ้นกิเลสแล้ว เป็นพระอรหันต์ เว้นจากการทำความชั่วทั้งปวง จึงเรียกว่า นาค แปลว่าผู้ประเสริฐ

พระกุมารกัสสปะ ส่งกระแสจิตไปตามลำดับแห่งคำพยากรณ์แก้ปัญหานั้น เมื่อจบข้อ สุดท้าย ท่านก็บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

พระกุมารกัสสปเถระต่อว่ามารดา
ฝ่ายนางภิกษุณี ผู้เป็นมารดาของพระกุมารกัสสปะ ตั้งแต่วันที่พระเจ้าปเสนทิโกศล รับ เอาบุตรของนางไปชุบเลี้ยง เป็นต้นมา น้ำตาของนางก็ได้ไหลหลั่ง เพราะความทุกข์เกิดจากการ พลัดพรากจากบุตร ผู้เป็นที่รัก เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี แม้ต่อมาจะทราบว่า บุตรชายของนางมา บวชแล้วก็ตาม แต่นางก็ยังมิได้เห็นหน้าพระลูกชายเลย จนกระทั่งเช้าวันหนึ่ง นางได้พบท่าน พระกุมารกัสสปะ กำลังออกเดินรับบิณฑบาตอยู่ ด้วยความดีใจสุดจะยับยั้ง นางได้ร้องเรียกขึ้น ว่า “ลูก ลูก” แล้ววิ่งเข้าไปหาเพื่อสวมกอดพระลูกชาย แต่เพราะว่านางรีบร้อนเกินไป จึงได้ สะดุดล้มลงเสียก่อน

พระกุมารกัสสปะคิดว่า “ถ้าหากว่าเราพูดกับมารดา ด้วยถ้อยคำอันไพเราะแล้ว นางก็ยิ่ง เกิดความสิเนหา รักใคร่ ในตัวเรามากยิ่งขึ้น และจะเป็นเหตุทำให้นาง เสื่อมเสียโอกาสบรรลุ อมตธรรมได้ ควรที่เราจะกล่าวคำพูด ที่ทำให้นางหมดอาลัยในตัวเราแล้ว นางก็จะได้บรรลุ อมตธรรม” ดังนี้แล้ว จึงกล่าวแก่นางว่า “ท่านมัวทำอะไรอยู่ จึงตัดไม่ได้แม้กระทั่งความรัก”

ถ้อยคำของพระกุมารกัสสปะ ทำให้นางรู้สึกน้อยใจ และเสียใจเป็นอย่างยิ่ง นางคิดว่า “เราร้องไห้เพราะคิดถึงลูกชาย นานถึง ๑๒ ปี เมื่อพบลูกชายแล้ว กลับถูกลูกชายพูดจาตัดเยื่อใย ให้ต้องช้ำใจอีก” ด้วยความน้อยใจเช่นนี้ นางจึงตัดรักตัดอาลัย หมดความสิเนหาในตัวลูกชาย อย่างสิ้นเชิง แล้วนางก็ได้ตั้งใจ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้นนั่น เอง

ได้รับยกย่องวาแสดงธรรมอย่างวิจิตร
พระกุมารกัสสปะนั้น ท่านได้เป็นกำลังช่วยเหลือกิจการพระศาสนาเต็มกำลังความ สามารถ ท่านมีความสามารถพิเศษ ในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร ทั้งข้ออุปมาอุปไมย เปรียบเทียบ ให้ผู้ฟังรู้แจ้งเห็นจริง เข้าใจอย่างง่ายดาย

ครั้งหนึ่ง ท่านได้แสดงธรรม โปรดพระเจ้าปายาสิ ผู้ครองนครเสตัพยะ ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดว่า โลกหน้าไม่มี กรรมดีกรรมชั่ว ไม่มีผล นรกสวรรค์ก็ไม่มี เมื่อได้ฟังธรรมจาก พระเถระแล้ว กลับเป็นสัมมทิฏฐิ ประกาศตนเป็นอุบาสก นับถือพระรัตนตรัยตลอดพระชนม์ชีพ

ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลายในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร

ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- ประวัติพระกุมารกัสสปเถระ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก